ฮีบรู 7 – TNCV & NRT

Thai New Contemporary Bible

ฮีบรู 7:1-28

ปุโรหิตเมลคีเซเดค

1เมลคีเซเดคผู้นี้ทรงเป็นกษัตริย์เมืองซาเลมและเป็นปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด พระองค์ได้ทรงพบอับราฮัมและให้พรเขาหลังจากเขากลับจากการรบชนะเหล่ากษัตริย์ 2อับราฮัมได้ถวายหนึ่งในสิบจากของทั้งหมดแด่เมลคีเซเดค ประการแรกพระนามเมลคีเซเดคมีความหมายว่า “กษัตริย์แห่งความชอบธรรม” และประการต่อมา “กษัตริย์แห่งซาเลม” ก็หมายถึง “กษัตริย์แห่งสันติสุข” 3ไม่มีบันทึกว่าใครเป็นบิดามารดา ไม่มีบันทึกลำดับวงศ์ตระกูล ไม่มีบันทึกวันเริ่มต้นหรือวันสิ้นสุดชีวิต เมลคีเซเดคทรงเป็นปุโรหิตตลอดกาลเหมือนพระบุตรของพระเจ้า

4คิดดูเถิดเมลคีเซเดคทรงยิ่งใหญ่เพียงใด ที่แม้แต่อับราฮัมบรรพบุรุษของเรายังได้ถวายหนึ่งในสิบจากของที่ริบมาได้แด่พระองค์! 5บทบัญญัติระบุให้วงศ์วานเลวีผู้เป็นปุโรหิตนั้นรับสิบลดจากประชาชน นั่นคือจากพี่น้องของเขา ถึงแม้ว่าพี่น้องของเขาจะสืบเชื้อสายจากอับราฮัม 6ส่วนเมลคีเซเดคนี้ไม่ได้สืบเชื้อสายจากเลวี แต่ก็รับสิบลดจากอับราฮัมและอวยพรให้เขาผู้ได้รับพระสัญญา 7ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ใหญ่ย่อมให้พรผู้น้อย 8ในกรณีหนึ่งผู้รับสิบลดเป็นมนุษย์ซึ่งต้องตาย ส่วนอีกกรณีหนึ่งผู้รับสิบลดคือผู้ที่ได้รับการประกาศว่าทรงพระชนม์อยู่ 9อาจกล่าวได้ว่าเลวีผู้รับสิบลดนั้นได้ถวายสิบลดผ่านทางอับราฮัม 10เพราะเมื่อเมลคีเซเดคได้พบกับอับราฮัมนั้น เลวียังอยู่ในกายของอับราฮัมบรรพบุรุษของเขา

พระเยซูทรงเป็นเหมือนเมลคีเซเดค

11หากมนุษย์มาถึงความครบถ้วนบริบูรณ์ในพระเจ้าได้โดยทางระบอบปุโรหิตตามแบบของเลวีแล้ว (เพราะโดยพื้นฐานของระบอบนี้บทบัญญัติจึงมีมาถึงเหล่าประชากร) ทำไมยังต้องมีปุโรหิตอีกผู้หนึ่งซึ่งเป็นปุโรหิตตามแบบของเมลคีเซเดค ไม่ใช่ตามแบบของอาโรน? 12เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบปุโรหิตก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติด้วย 13พระองค์ผู้ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้บ่งถึงนั้นมาจากตระกูลอื่น และไม่มีใครจากตระกูลนั้นเคยปรนนิบัติที่แท่นบูชา 14เนื่องจากเห็นชัดเจนอยู่ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงสืบสายจากตระกูลยูดาห์ ซึ่งเป็นตระกูลที่โมเสสไม่ได้กล่าวพาดพิงถึงเลยในเรื่องปุโรหิต 15และสิ่งที่เราได้กล่าวนั้นจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าปุโรหิตอีกผู้หนึ่งเฉกเช่นเมลคีเซเดคปรากฏขึ้น 16ผู้ที่เป็นปุโรหิตโดยไม่ได้อาศัยกฎระเบียบการสืบทอดตามบรรพบุรุษของเขา แต่โดยอาศัยอานุภาพแห่งชีวิตซึ่งไม่อาจทำลายได้ 17ตามที่ประกาศไว้ว่า

“ท่านเป็นปุโรหิตชั่วนิรันดร์

ตามแบบของเมลคีเซเดค”7:17 สดด.110:4 เช่นเดียวกับข้อ 21

18กฎระเบียบเดิมถูกล้มเลิกไปเนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพและเปล่าประโยชน์ 19(เพราะบทบัญญัติไม่ได้ทำให้สิ่งใดครบถ้วนสมบูรณ์ได้เลย) และมีการหยิบยื่นความหวังที่ดียิ่งกว่าซึ่งช่วยให้เราเข้าใกล้พระเจ้าได้

20และพระเจ้าทรงยืนยันเรื่องนี้ด้วยคำสาบาน! ขณะที่คนอื่นๆ ขึ้นเป็นปุโรหิตโดยไม่มีคำสาบานใดๆ 21แต่พระเยซูทรงขึ้นเป็นปุโรหิตด้วยคำสาบานเมื่อพระเจ้าตรัสกับพระองค์ว่า

“พระเจ้าได้ทรงปฏิญาณแล้ว

และจะไม่ทรงเปลี่ยนพระทัย คือ

‘ท่านเป็นปุโรหิตชั่วนิรันดร์’ ”

22เพราะด้วยคำสาบานนี้พระเยซูจึงทรงเป็นผู้ค้ำประกันพันธสัญญาซึ่งดียิ่งกว่า

23ปุโรหิตตระกูลเลวีนั้นต้องรับหน้าที่สืบทอดกันหลายคน เพราะความตายขัดขวางพวกเขาไม่ให้อยู่ในตำแหน่งนั้นตลอดไป 24แต่เพราะพระเยซูทรงพระชนม์อยู่เป็นนิตย์จึงทรงเป็นปุโรหิตถาวรนิรันดร์ 25ฉะนั้นพระองค์จึงทรงสามารถช่วยบรรดาผู้ที่มาถึงพระเจ้าโดยทางพระองค์ได้อย่างสมบูรณ์7:25 หรือตลอดไป เพราะพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เสมอเพื่อที่จะทูลวิงวอนเพื่อเขาทั้งหลาย

26มหาปุโรหิตเช่นนี้แหละที่ตอบสนองความจำเป็นของเราได้ คือปุโรหิตผู้ทรงบริสุทธิ์ไร้ที่ติ ปราศจากมลทิน แยกจากคนบาป เป็นที่เทิดทูนเหนือฟ้าสวรรค์ 27พระเยซูไม่จำเป็นต้องถวายเครื่องบูชาทุกๆ วันเหมือนมหาปุโรหิตอื่นๆ ซึ่งตอนแรกต้องถวายเครื่องบูชาสำหรับบาปของตนเอง จากนั้นจึงถวายเครื่องบูชาสำหรับบาปของประชาชน พระเยซูทรงถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชาสำหรับบาปของเขาทั้งหลายเพียงครั้งเดียวเป็นพอ 28บทบัญญัตินั้นแต่งตั้งมนุษย์ผู้อ่อนแอให้เป็นมหาปุโรหิต แต่คำปฏิญาณของพระเจ้าซึ่งมาภายหลังบทบัญญัติได้แต่งตั้งพระบุตรผู้ซึ่งทรงทำให้สมบูรณ์แล้วเป็นนิตย์

New Russian Translation

Евреям 7:1-28

Священник Мелхиседек выше Авраама и всех иудейских священников

1Этот Мелхиседек был царем Салима и священником Всевышнего Бога. Он встретил Авраама, возвращавшегося со сражения после победы над царями, и благословил его. 2Авраам отдал ему десятую часть всего, что у него было. Само его имя Мелхиседек означает «царь праведности», а его титул «царь Салима» означает «царь, несущий мир». 3Нигде не написано ни о его отце, ни о матери, ни о других его предках, ни о начале, ни о конце его жизни, но он, уподобленный Сыну Божьему, остается священником вовеки7:1-3 См. Быт. 14:17-20..

4Смотрите, насколько он был велик! Даже наш праотец Авраам дал ему десятую часть захваченного на войне. 5В Законе имеется повеление, согласно которому члены рода Левия7:5 Левий – родоначальник священнического рода левитов, был одним из двенадцати сыновей Иакова, внука Авраама., ставшие священниками, собирают с народа, то есть со своих братьев, десятую часть их дохода, хотя и они потомки Авраама7:5 См. Чис. 18:21, 26.. 6Но Мелхиседек, будучи священником не из рода Левия, принял десятую часть добычи Авраама и благословил его, того, кто уже имел обещания Божьи. 7Благословляет всегда тот, кто стоит выше благословляемого (это правило не имеет исключений). 8Десятую часть доходов принимают обычно смертные люди, но о Мелхиседеке засвидетельствовано, что он жив. 9В каком-то смысле и сам Левий, получающий десятины, через Авраама дал десятую часть доходов Мелхиседеку, 10потому что, когда Мелхиседек встретил Авраама, Левий, еще не рожденный, был в чреслах7:10 Чресла – бедра, поясница, низ живота. Авраама.

Мелхиседек – прообраз Иисуса Христа

11Если бы совершенство достигалось через священство левитов (а оно было существенной частью Закона, который был дан народу), то разве была бы нужда в другом священнике – по чину Мелхиседека, а не по чину Аарона? 12Когда происходит перемена священства, одновременно должна произойти и перемена Закона. 13Тот же, о Ком мы сейчас говорим, принадлежал к роду, из которого никто и никогда не служил у жертвенника. 14Ведь известно, что наш Господь был из рода Иуды, а Моисей не сказал ничего о священниках из этого рода. 15Нам становится еще яснее, что Закон изменился, когда появляется другой священник – по подобию Мелхиседека. 16Он стал священником не по Закону, который требовал принадлежности к определенному роду, а по силе, которая заложена в вечной жизни. 17Ведь Писание свидетельствует:

«Ты – священник навеки

по чину Мелхиседека»7:17 См. Пс. 109:4..

18Итак, прежнее повеление отменено, потому что оно оказалось слабым и бесполезным 19(Закон вообще ничего не сделал совершенным), и дается надежда на нечто лучшее, благодаря которой мы приближаемся к Богу.

20Примечательно, что это подтверждено клятвой Бога. Другие священники получали свое служение без всякой клятвы, 21но Христос стал священником по клятве Того, Кто сказал Ему:

«Поклялся Господь и не откажется:

Ты – священник навеки»7:21 См. Пс. 109:4..

22Таким образом, Иисус стал поручителем гораздо лучшего завета.

23Тех священников было много, одни умирали, и на смену им приходили другие, 24а Иисус жив вечно, и Его священство тоже вечно. 25Поэтому Он в силах полностью7:25 Полностью – или «навсегда». спасать тех, кто благодаря Ему приходит к Богу. Он всегда жив и всегда ходатайствует за них.

26Именно такой Первосвященник и был нам необходим: святой, непорочный, чистый, отделенный от грешников и находящийся превыше небес. 27Ему нет необходимости приносить жертвы каждый день, как это делают другие первосвященники, принося вначале жертвы за свои грехи, а потом за грехи народа. Он сделал это за всех раз и навсегда, когда отдал в жертву Самого Себя. 28По Закону первосвященниками назначаются обыкновенные слабые люди, а согласно клятве, данной уже после Закона, был назначен Сын, полностью и навеки приготовленный к этому.